เดิมเคยเขียนคำสั่ง SQL ไว้นานละพอแก่ตัวขึ้นกลับไปดู มันก็สมควรเปลี่ยน (Optimize) แหล่ะ เราจะไม่ลงรายละเอียดเรื่องของการตรวจสอบเวชระเบียนหล่ะกัน ขอข้ามไปพาร์ทสำหรับการเตรียมข้อมูล (กลุ่มตัวอย่าง) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทำงานต่อ เริ่มด้วย Systematic Random Sampling (การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ) การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ( Systematic sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยมีรายชื่อของทุกหน่วยประชากรมาเรียงเป็นระบบตามบัญชีเรียกชื่อ การสุ่มจะแบ่งประชากรออกเป็นช่วงๆที่เท่ากันอาจใช้ช่วงจากสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและประชากร แล้วสุ่มประชากรหน่วยแรก ส่วนหน่วยต่อๆไปนับจากช่วงสัดส่วนที่คำนวณไว้ ขั้นตอนคร่าว ๆ ของการเตรียมข้อมูลสุ่มตัวอย่างแบบนี้คือ เลือกแฟ้มจาก OPD Card หรือ สมุดทะเบียนผู้มารับบริการ จำแนกตาม PID หรือ HN หรือวันที่ที่มารับบริการ หาช่วง Interval (I) ของการสุ่มโดยใช้สูตร I = จำนวนเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งหมด ÷ จำนวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่ต้องการ หาค่าตั้งต้นโดยการจับฉลาก (สุ่ม) เช่น จับฉลากได้หมายเลข 5 ให้เลือกเวชระเบียนแฟ้มแรกคือลำดับที่ 5 แล้วนับต่อไปทุกลำดับที่ I เช่นกรณีได้ค่า …
Continue reading “Optimize คำสั่ง SQL สำหรับการสุ่มเวชระเบียนด้วยวิธี Systematic sampling”